fbpx
Safe Sea - เล่นน้ำทะเลแล้วเป็นผื่นแดง แสบคัน ป้องกันได้
  • หน้าแรก
  • รู้จักกับแมงกะพรุน
    • อันตรายจากแมงกะพรุน
    • เข็มพิษของแมงกะพรุน
    • การรักษาผู้บาดเจ็บจากพิษแมงกะพรุน
    • วิธีป้องกันอันตรายจากพิษแมงกะพรุน
    • สัตว์มีพิษชนิดอื่นๆ
    • สารานุกรมแมงกะพรุน
  • ครีมกันพิษแมงกะพรุน Safe Sea
    • ใช้อย่างไร
    • ทำงานอย่างไร?
    • ทดสอบการทำงาน
    • ตัวอย่างผลการใช้งาน
  • สั่งซื้อ
    • Online Shop
  • LINE Chat
  • Menu Menu
  • Facebook

เซลเข็มพิษของแมงกะพรุน

  • พิษของแมงกะพรุนบรรจุอยู่ในเซลเข็มพิษที่เรียกว่า นีมาโตไซต์ (nematocyte) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณหนวด ส่วนด้านบนของหมวกจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
  • เซลเข็มพิษแต่ละเซลจะมีถุงพิษ 1 ถุงเรียกว่า นีมาโตซีสต์ (nematocyst) ซึ่งบรรจุน้ำพิษและมีท่อนำพิษขดอยู่ โดยมีเข็มพิษอยู่ที่ปลายท่อ เมื่อถุงพิษทำงาน จะยิงเข็มพิษนำออกไปก่อนเพื่อเจาะผ่านชั้นผิวนอกของเหยื่อ แล้วจึงดันเอาท่อนำพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อให้ลึกขึ้นอีก ก่อนจะดันน้ำพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อตามไป
  • พื้นที่เพียงหนึ่งตารางเซนติเมตรบนหนวดแมงกะพรุน อาจมีเซลเข็มพิษกระจายอยู่ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสนต่อม ตามแต่ชนิดของแมงกะพรุน ดังนั้น หนวดแต่ละเส้นอาจมีเซลเข็มพิษอยู่หลักแสนถึงหลักล้านเซลเลยทีเดียว

การทำงานของเซลพิษแมงกะพรุน

  • เมื่อหนวดแมงกะพรุนสัมผัสกับผิวของสิ่งที่น่าจะเป็นเหยื่อ จะกระตุ้นให้ถุงพิษยิงเข็มพิษออกมาปักลงไปบนผิวของเหยื่อ แล้วฉีดพิษเข้าไป
  • ขณะก่อนจะยิงเข็มพิษ ความดันภายในถุงพิษอาจจะสูงถึง 14,000kPa (140 bar) หรือสูงกว่า
  • การยิงเข็มพิษของแมงกะพรุน ใช้เวลาน้อยกว่า 10 ในพันวินาที (10 millisec) เท่ากับมีอัตราเร่งมากกว่า 40,000 g (งานวิจัยล่าสุดระบุว่าน้อยกว่า 1 ส่วนล้านวินาที (1 microsec) หรือเทียบเท่ากับอัตราเร่งมากกว่า 5 ล้าน g) จัดเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่เร็วที่สุด
  • พิษของแมงกะพรุนยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก สารบางชนิดในพิษทำให้ผนังเซลฉีกขาด ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว สารบางชนิดก่อกวนการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

ข้อมูลอ้างอิง

  • เอกสารเผยแพร่ของ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • Jellyfish Gone Wild!; The National Science Foundation
  • Jellyfish; Wikipedia
  • Jellyfish Stings: Hi-tech Micro Injections
  • 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “แมงกะพรุน”; ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ วันที่ 19 ส.ค. 2558, ผู้จัดการออนไลน์.
    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000092775
  • “แมงกะพรุน” ทั่วโลกเพิ่มไม่หยุดหวั่นทะเลเสียสมดุล; 23 มิ.ย. 2551, ผู้จัดการออนไลน์.
    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072309

Our Facebook

จัดจำหน่ายโดย

The Guru Co., Ltd.
โทร. 095-875-5450

19 เอกชัย 66/4 ถนนเอกชัย
แขวงคลองบางพราน เขตบางบอน
กรุงเทพฯ 10150
(กรุงเทพฯ, ประเทศไทยตอนบน
และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก)

  • สั่งซื้อทาง LINE
  • ติดต่อทาง LINE
  • Disclaimer
  • Privacy Policy
© Copyright - AntiJellyfish.com
  • Facebook
  • หน้าแรก
  • รู้จักกับแมงกะพรุน
  • ครีมกันพิษแมงกะพรุน Safe Sea
  • สั่งซื้อ
  • LINE Chat
Scroll to top