พลิกโฉมวงการแพทย์ ด้วยโปรตีนเขียวเรืองแสงจากแมงกะพรุน

ทุกวันนี้ การที่เราสามารถศึกษาการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง, การพัฒนาของเซลล์ประสาทในสมอง, กระบวนการสร้างอินซูลินของเซลล์ในตับอ่อน, การกระจายตัวของเชื้อ HIV ในร่างกาย, การเกิดโรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ ต้องยกความดีความชอบให้กับแมงกะพรุน Aequorea Victoria

ในปี 1962 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบโปรตีนสีเขียวเรืองแสง (Green Fluorescent Protein: GFP) ของแมงกะพรุนชนิดนี้ และยังพบอีกว่า มันสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเสมือนปากกาไฮไลท์ในระดับเซลล์ได้ โดยเริ่มจากสกัดโปรตีนนี้จากแมงกะพรุน แยกยีนที่เป็นคำสั่งสร้างโปรตีนนี้ออกมา แล้วนำยีนนี้ใส่เข้าไปในสิ่งที่ต้องการศึกษา แล้วสิ่งนั้นก็จะเรืองแสง ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ติดตามการทำงานของยีนที่สนใจได้อย่างเฉพาะเจาะจง รวมทั้งสามารถแอบดูกระบวนการทำงานภายในเซลล์ได้แบบ real-time เสมือนการเปิดไฟให้ห้องมืดปริศนา เปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากมาย ซึ่งตอนนี้ เทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำไปใช้การการวิจัยทางการแพทย์แล้วกว่า 30,000 งานวิจัย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบและพัฒนาโปรตีนนี้ได้รางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 2008

แหล่งข้อมูล:

ภาพโดย: Ingrid Moen, Charlotte Jevne, Jian Wang, Karl-Henning Kalland, Martha Chekenya, Lars A Akslen, Linda Sleire, Per Ø Enger, Rolf K Reed, Anne M Øyan and Linda EB Stuhr: Gene expression in tumor cells and stroma in dsRed 4T1 tumors in eGFP-expressing mice with and without enhanced oxygenation. In: BMC Cancer. 2012 [CC BY 2.0]

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< Jelly-The Robot : สายลับตรวจจับโลกร้อนบอกลาปุ๋ยเคมี ด้วยปุ๋ยอินทรีย์จากแมงกะพรุน >>