แมงกะพรุนกะหล่ำดอก (Cauliflower Jellyfish, Crown Jellyfish)

เป็นตอนที่ 10 ใน 17 ตอนของเรื่อง แมงกะพรุนสุดว้าวแห่งท้องทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cephea cephea
หมวดหมู่ : Phylum Cnidaria >> Class Scyphozoa >> Order Rhizostomeae
สถานที่พบ : อินโดแปซิฟิก

กะหล่ำชนิดนี้เราสามารถกินได้! นี่คือหนึ่งในสายพันธุ์แมงกะพรุนที่ถูกมนุษย์จับมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะในจีนและญี่ปุ่น พวกมันมักเติบโตเป็นวัย Medusa ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดภาวะแมงกะพรุนสะพรั่ง (bloom) บ่อยครั้ง ครั้งแรกที่มีบันทึกไว้คือที่อียิปต์ในปี 2011 โดยคาดว่ามีนับหมื่นตัว บางพื้นที่มีความหนาแน่นถึง 20 ตัว ต่อลูกบาศก์เมตร

เจ้ากะหล่ำดอกจะอาศัยอยู่ในน้ำลึกเวลากลางวัน และขึ้นมาที่น้ำตื้นในเวลากลางคืน แถมสามารถเรืองแสงเพื่อให้ผู้ล่าตกใจได้ หน้าตาดูละม้ายคล้ายแมงกะพรุนไข่ดาว ใช่แล้ว! มันอยู่ในวงศ์ Cepheidae เดียวกันนั่นเอง

The water is full of Cauliflower Jellyfish

The water is full of Cauliflower Jellyfish, Cephea cephea at Marsa Shouna, Red Sea, Egypt #SCUBA

อ้างอิง: หนังสือ Jellyfish: A Natural History (เขียนโดย Lisa-ann Gershwin)

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< แมงกะพรุนไต่ใบไม้ (Leaf-crawler Jellyfish)แมงกะพรุนหมวกดอกไม้ (Flower Hat Jelly) >>