เป็นตอนที่ 1 ใน 3 ตอนของเรื่อง รู้จักและรับมือพิษแมงกะพรุน

แมงกะพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล ไฮดราและไฮดรอยด์ ล้วนเป็นสัตว์ในไฟลัม Cnidaria ซึ่งเอกลักษณ์ของสัตว์ในไฟลัมนี้คือมีเข็มพิษ ดังนั้น แมงกะพรุนทุกชนิดจึงมีพิษ เพียงแต่ความรุนแรงของพิษจะต่างกันไปในแต่ละชนิด จำนวนพิษที่ได้รับ รวมถึงระดับความแพ้ของคน โดยมีตั้งแต่แค่แสบๆ คันๆ ไปจนถึงต้องหามส่งโรงพยาบาล

กลไกการยิงเข็มพิษของแมงกะพรุน

 

เป็นตอนที่ 2 ใน 3 ตอนของเรื่อง รู้จักและรับมือพิษแมงกะพรุน

ระดับความร้ายแรงของพิษในแมงกะพรุนแต่ละชนิดขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สารประกอบในน้ำพิษ ลักษณะและกลไกของเข็มพิษ ไปจนถึงความยาวของเข็มพิษ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าแมงกะพรุนที่มีเข็มพิษยาวจะสร้างความเจ็บปวดได้มากกว่าพวกที่มีเข็มพิษสั้น ทั้งนี้ ความร้ายแรงของพิษยังขึ้นอยู่กับปริมาณพิษที่ได้รับ และระดับความแพ้ของแต่ละคนด้วย

แมงกะพรุนที่พิษอ่อน

อาการมีตั้งแต่แทบไม่รู้สึกอะไร ไปจนถึงแสบๆ คันๆ

แมงกะพรุนหอม (Mastigias sp.)

แมงกะพรุนลอดช่อง (Lobonema smithi)

แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema sp.)

แมงกะพรุนพระจันทร์ (Aurelia aurita)

แมงกะพรุนลูกปืนใหญ่ (Stomolophus meleagris)

แมงกะพรุนที่พิษปานกลาง

ทำให้ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่สัมผัส เป็นรอยแดง บวม เป็นผื่น ส่วนคนที่แพ้อาจมีความรุนแรงมากกว่านั้นได้

แมงกะพรุนไฟ (Chrysaora spp.)

แมงกะพรุนไฟสีชมพู (Pelagia spp.)

แมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรง

หากโดนพิษแมงกะพรุนกลุ่มนี้ ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที เนื่องจากอาจมีอันตรายถึงชีวิต

1. แมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish)

Carybdea sivickisi

Chiropsoides buitendiijki

Tripedalia cystophora

2. แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Portuguese Man’o War: Physalia spp.)**

ถึงแม้ชื่อของมันจะมีคำว่าแมงกะพรุน แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘ไซโฟโนฟอร์’

Portuguese man-o-war (Physalia spp.)

Physalia physalis

ข้อมูล

ภาพ: DMCR, Wikipedia

เป็นตอนที่ 3 ใน 3 ตอนของเรื่อง รู้จักและรับมือพิษแมงกะพรุน

สิ่งสำคัญที่ต้องขีดเส้นใต้คือ หนวดแมงกะพรุนที่เหลือบนผิวหนังยังยิงเข็มพิษได้ ดังนั้น ผู้ที่ช่วยจะต้องระวังไม่ให้ตัวเองกลายเป็นผู้บาดเจ็บไปด้วย โดยมีขั้นตอนการปฐมพยาบาลดังนี้

1. นำหนวดแมงกะพรุนที่หลงเหลือที่ผิวหนังออกให้หมด

  • ห้ามใช้มือจับโดยตรง (อาจใช้คีม, บัตรพลาสติกแข็งเขี่ยออก หรือใช้กระดาษทิชชูซับ)
  • ทิ้งในที่ปลอดภัยและมิดชิด ที่จะไม่มีใครไปสัมผัสมันอีก
  • ห้ามขัดถูหรือขยี้บริเวณแผล

2. ราดด้วยน้ำส้มสายชู นานอย่างน้อย 30 วินาที (หรือถ้าไม่มี ให้ใช้น้ำทะเลแทน หรือจะแช่ในน้ำทะเลก็ได้)

  • ห้าม! ราดด้วยน้ำจืด, ปัสสาวะ, แอลกอฮอล์, แอมโมเนีย, น้ำอัดลม, เบกกิ้งโซดา ฯลฯ (เนื่องจากสารเหล่านั้นจะกระตุ้นให้เข็มพิษที่หลงเหลือทำงาน)
  • สำหรับแผลบริเวณดวงตา ให้ใช้ผ้าชุบน้ำส้มสายชูซับเบาๆ รอบๆ ดวงตา โดยระมัดระวังการสัมผัสกับลูกตาโดยตรง
  • ห้ามขัดถูหรือขยี้บริเวณแผล

หมายเหตุ : น้ำส้มสายชูไม่ได้ลดอาการปวด แต่จะลดการทำงานของเข็มพิษที่หลงเหลือบนผิว

หมายเหตุ2 : ในกรณีของแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia sp.) ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงว่าควรใช้น้ำส้มสายชูหรือไม่ เนื่องจากงานวิจัยหลายชิ้นมีความขัดแย้งกัน แต่งานวิจัยล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในปี 2017 ระบุว่า น้ำส้มสายชูช่วยยับยั้งการทำงานของเข็มพิษที่หลงเหลือบนผิวได้

3. หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ช่วยหายใจ หากไม่มีชีพจร ให้ปั๊มหัวใจ

  • เรียกรถพยาบาล โทร. 1669

4. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ให้มากที่สุดเพื่อลดการทำงานของเข็มพิษที่ยังหลงเหลือ

5. หากมีครีม Safe Sea ให้พ่นหรือทาลงที่แผลได้ (ห้ามใช้มือเปล่าทา และระวังอย่าให้เป็นการถู)

แม้ว่า Safe Sea จะไม่ได้ช่วยแก้ไขหลังจากถูกพิษแล้ว แต่ด้วยคุณสมบัติของครีมที่ช่วยหยุดยั้งการทำงานของเข็มพิษโดยตรง ทำให้สามารถป้องกันผู้ป่วยจากเข็มพิษที่หลงเหลือบนผิวหนังได้

6. ในกรณีที่อาการรุนแรง เช่น ปวดมาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก ใจสั่น หายใจขัด หน้าซีด ให้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลทางการแพทย์